• ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และพัฒนาการแบบจำลองระบบสุริยะ

          เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ
          ในอดีต นักปราชญ์ส่วนใหญ่ เช่น พลาโต อริสโตเติล ปโตเลมี เชื่อว่า โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล มีทรงกลมท้องฟ้าซึ่งประดับด้วยดาวฤกษ์โคจรล้อมรอบ และมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์​ และดาวเคราะห์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า 5 ดวง โคจรล้อมรอบอยู่ภายในทรงกลมท้องฟ้าด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน อย่างไรยังมีนักปราชญ์บางคน เช่น อริตาชูส และ โคเปอร์นิคัส เชื่อว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีโลกและดาวเคราะห์ทั้งหลายเป็นบริวารทั้งหลายโคจรรอบดวงอาทิตย์
       จวบจนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 กาลิเลโอ ได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่า ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์​  เคปเลอร์ค้นพบว่า ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โดยมีความเร็วในวงโคจรไม่เท่ากัน ระยะห่างจากดวงอาทิตย์กับคาบเวลาในการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงเป็นสัดส่วนคงที่ นิวตันได้อธิบายว่าที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง     
  -- กำเนิดระบบสุริยะ
  -- นักดาราศาสตร์
  -- กฎของเคปเลอร์  (เกี่ยวกับ การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์)
  -- ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป   (สรุปได้ว่า แรงโน้มถ่วงทำให้เวลาช้าลง และทำให้ระยะทางโค้ง)

- อ้างอิง : baanjomyut
- สนทนา : ย้อนเวลาสู่การกำเนิดเอกภพ